รางวัลพระปกเกล้าทองคำ ประจำปี 2563 สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

รางวัลพระปกเกล้าทองคำ

สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ประจำปี 2563

เทศบาลเมืองลำพูน ได้รับรางวัลพระปกเกล้าทองคำ ประจำปี 2563 สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2563 นายประภัสร์ ภู่เจริญ นายกเทศมนตรีเมืองลำพูน รับรางวัลพระปกเกล้าทองคำ ประจำปี 2563 สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยมีศาสตราจารย์ วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าเป็นผู้มอบโล่รางวัลประกาศเกียรติคุณ ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี  ซึ่งรางวัลพระปกเกล้าทองคำเป็นรางวัลที่สถาบันพระปกเกล้ามอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เคยได้รับรางวัลพระปกเกล้าในระดับเป็นเลิศมาแล้วอย่างน้อย 2 ครั้ง ในระยะเวลา 5 ปี และเป็นเครื่องหมายเชิดชูองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าเป็นหน่วยงานที่บริหารงานและตอบสนองความต้องการของประชาชนและพื้นที่อย่างโดดเด่นต่อเนื่อง มีการดำเนินงานที่โปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งมีการสร้างสรรค์นวัตกรรมการบริหารงานใหม่ๆ อันเป็นแบบอย่างแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในประเทศไทย
โดยเทศบาลเมืองลำพูนได้รับรางวัลพระปกเกล้าทองคำ ประจำปี 2563 สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน จากการส่งผลงานนวัตกรรมด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่
  1. นวัตกรรมระบบสวัสดิการสงเคราะห์ บนฐานการมีส่วนร่วมและความไว้วางใจของประชาชน “เมื่อมี แบ่งปัน สังคมอุ่นใจ”
  2. นวัตกรรมการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษด้วยระบบถอดรหัสเสียงและตัวอักษร เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต (9 Frameworks of Phonemics and Phonics)
  3. นวัตกรรมการบริหารงานบุคคลโปร่งใส มั่นใจระบบคุณธรรม
  4. นวัตกรรมระบบข้อมูลสาธารณะโปร่งใส พร้อมก้าวไปกับเทศบาลเมืองลำพูน
ซึ่งผลสำเร็จของการดำเนินงานทุกอย่าง เกิดจากความมุ่งมั่นตั้งใจของเทศบาลเมืองลำพูน การดำเนินงานที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชน ตั้งแต่การร่วมวิเคราะห์ปัญหา จัดลำดับความสำคัญ การตั้งเป้าหมาย ดำเนินการแก้ไขปัญหา และร่วมกันติดตามประเมินผล โดยมีจุดหมายปลายทางเพื่อนำไปสู่การ พัฒนาคุณภาพชีวิต (Quality of Life) ประชาชนอยู่ดีมีสุข มีสุขภาพจิตดี สุขภาพกายดี สิ่งแวดล้อมดี และสังคมดี อย่างยั่งยืน สมดังวิสัยทัศน์ที่ว่า “ลำพูนเป็นเมืองเก่าที่มีเสน่ห์ มีคุณภาพชีวิตที่ดี บนวิถีแห่งความพอเพียง”