เทศบาลเมืองลำพูน ร่วมกับศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง(UDDC)จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมการส่องสว่าง (LRIC) PNUR (พีเนอ) Lamphun City Lab และภาคีเครือข่ายพัฒนาเมือง จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ออกแบบอย่างมีส่วนร่วม ครั้งที่ 2 “โครงการฟื้นใจเมืองลำพูน ด้วยเมืองเดินได้ – เมืองเดินดี”

วันที่ 22 สิงหาคม 2565 เทศบาลเมืองลำพูน ร่วมกับศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง(UDDC)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมการส่องสว่าง (LRIC) PNUR (พีเนอ) Lamphun City Lab และภาคีเครือข่ายพัฒนาเมือง จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการออกแบบ อย่างมีส่วนร่วม ครั้งที่ 2 “โครงการฟื้นใจเมืองลำพูน ด้วยเมืองเดินได้ – เมืองเดินดี” ในการเปลี่ยนแปลงและฟื้นฟูเมือง นำเสนอกรอบแนวความคิดการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจเมืองลำพูน ซึ่งเป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่สามารถเชื่อมโยงศักยภาพเมืองกับการพัฒนาย่านเดินได้-เดินดี เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของเมืองโดยเฉพาะเศรษฐกิจท้องถิ่น จัดขึ้น ณ ห้องประชุม Gtand Pa โรงแรมแกรนด์ ปา ลำพูนเชียงใหม่

โดย นายประภัสร์ ภู่เจริญ นายกเทศมนตรีเมืองลำพูน เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมสัมมนา และได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.นิรมล เสรีกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ได้นำเสนอภาพรวมโครงการฟื้นใจเมืองลำพูนด้วยเมืองเดินได้ – เมืองเดินดี ผลการดำเนินงาน รวมถึงผลการวิเคราะห์จากกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา จากนั้นนายอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ ผู้ช่วยผู้อำนวยการที่ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ร่วมกล่าวถึงความเป็นมาและเป้าหมายของโครงการฯ และคุณปรีชญา นวราช สถานิกผังเมือง-PNUR ได้นำเสนอแนวคิดการออกแบบพื้นที่นำร่อง (Conceptual Design) พร้อมเปิดเวทีให้ผู้ร่วมสัมมนาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อแนวคิดการออกแบบ และคัดเลือกพื้นที่โครงการนำร่องการฟื้นใจเมืองลำพูน ด้วยเมืองเดินได้-เมืองเดินดี ทำให้เกิดแนวคิดที่มีความหลายหลายและแปลกใหม่เป็นทางเลือกที่น่าสนใจกับโครงการฯอย่างมาก

แนวคิดของโครงการฟื้นใจเมืองลำพูนด้วยเดินได้-เมืองเดินดี เริ่มต้นขึ้นจากคำว่า “เมืองที่ดีเริ่มต้นจากการเดิน” การเดินนอกจากจะส่งผลดีต่อสุขภาพ ยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เมืองมีชีวิตชีวา ในระบบเมืองที่มีการเดินเท้าที่ดีและมีพื้นที่สาธารณที่เอื้อต่อการเดินจะทำให้ผู้คนในเมืองมีปฏิสัมพันธ์เป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์ เช่น เศรษฐกิจท้องถิ่นลำพูน สามารถดึงดูดนักธุรกิจรายย่อย หรือ Start up คนรุ่นใหม่เข้ามาทำธุรกิจในบ้านเกิด ถือเป็นการเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจและรายได้ โดยให้การเดินเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันที่ได้ครบทั้งความสุข สุขภาพ และคุณภาพชีวิติที่ดีอย่างยั่งยืน

***********************************************************************************************************************